ร้อยคำที่ควรรู้ “12 คำที่ให้ความสนใจ” ใฝ่รู้
Ø การคิดแบบสร้างสรรค์
โดยปกติคนเราถูกสอนให้คิดแบบเส้นตรง เป็นกระบวนการคิดเพื่อให้ถึงเป้าหมาย และหยุดการะบวนการ เปรียบการคิดแบบนี้เป็นการคิดแบบเชิงเดี่ยว
การคิดแบบสร้างสรรค์เป็นการคิดเพื่อค้นหาทางออกไว้หลายช่องทางโดยใช้กระบวนการคิดแบบเรียนรู้ที่เลือกสรรได้แล้วหาทางออกได้อย่างเหมาะสม และมีความสมบูรณ์ที่สุด
ความรู้มือหนึ่งคนที่นำมาใช้คนแรกคือ นายกสุรกิจ สุวรรแกม ตำบลย่านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมายถึงความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ จากการปฏิบัติ จากความคิดสร้างสรรค์ ต่างจาก ความรู้มือสอง ซึ่งอยู่ในตำรา การเรียนรู้ใหม่ โดยอาศัยทั้งข้อมูลที่มีอยู่และหาใหม่ ความรู้มือสองและประสบการณ์ของคนอื่นมาช่วยให้เกิดการคิดการปฏิบัติเป็นกระบวนการจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ ความรู้ใหม่ที่สร้างเองนี้มีพลังจนอาจระเบิดศักยภาพในของแต่ละคนออกมา เกิดการเปลี่ยนแปลง การเจริญเติบโต เกิดปัญหา
ความรู้มือหนึ่ง คือ ความรู้มือสอง + ประสบการณ์ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้
ความรู้มือสอง คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการอ่านจากตำราหรือจากสิ่งที่เกิดแล้ว
Ø คืนสู่ฐาน
คืนสู่ฐาน หมายถึง การกลับไปสู่หลักการพื้นฐานของการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่สับสนระหว่างความจำเป็นกับความต้องการ เพราะความต้องการของคนไม่สิ้นสุด การคืนสู่ฐานจึงเป็นการเรียนรู้ รู้จักพออยู่ พอกิน พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และเป้าหมายสุดท้ายคือความสุขเป็นผลพลอยได้ และทำทุกวิถีทางที่จะหาเงินให้ได้มาก ๆ จนเกิดทุกข์ สำหรับชีวิตที่พอเพียง คนจนคือคนที่ไม่รู้จักพอ คนรวยคือคนที่รู้จักพอ คนมีความสุขเพราะรู้จักพอ
Ø จิตตปัญญาศึกษา
จิตปัญญาศึกษา เป็นการศึกษาที่นำสู่การพัฒนาคนแบบองค์รวมทำให้เกิดการเปลี่ยนแลงในชีวิตของผู้ที่ศึกษา ทำให้เข้าใจด้านในของตัวเองเปลี่ยนจิตสำนึก เปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติวิธีให้คุณค่าและวิธีมองโลกความเป็นจริงเกิดความเป็นอิสระเกิดปัญญาปรับความสัมพันธ์ต่อผู้อื่น และต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล
จิตปัญญาศึกษาเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา จิตภาวนา โยคะ การทำงานศิลปะ ทำให้เข้าถึงความดี ความจริง ความงาม โดยไม่ได้แยกชีวิตของตนเองออกจากความเป็นจริง ชุมชน สังคม และประเด็นปัญหาต่าง ๆ ซึ่งล้วนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตนเองจึงสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย
Ø ถอดรหัส
การถอดรหัส หมายถึง การตีความ การค้นหา ความหมายที่ซ่อนอยู่ คล้ายกับการถอดหรือการแก้สมการทางคณิตศาสตร์ ปัจจุบันใช้กันในหลายบริบท เช่น ถอดรหัสภูมิปัญญา ถอดรหัสดีเอ็นเอ ถอดรหัสชีวิต ถอดรหัสไวรัสคอมพิวเตอร์
การถอดรหัสเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อเข้าถึงความหมายและคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน เช่น การถอดรหัสภูมิปัญญาไทย อย่างบ้านทรงไทย มวยไทย ซึ่งจะทำให้ค้นพบคุณค่าและความหมาย เพื่อสืบทอดให้สมสมัยวันนี้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องคงรูปแบบเดิมไว้ อาจเอาเนื้อหาเดิมมาประยุกต์ในรูปแบบใหม่ที่เหมาะกว่าสำหรับวันนี้ก็ได้
Ø พลวัต
พลวัต หมายถึง พลังที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นพลังที่มีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวโยงกันหลายด้าน พลวัตเป็นคำที่ใช้กันบ่อยเพื่อบอกถึงพลังทางการเมือง ทางสังคม ทางจิตวิทยา เช่น พลวัตทั้งหมด เบื้องหลังการปฏิวัติ
พลวัติเป็นระบบหรือกระบวนการแบบปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงถึงพลังการแข่งขัน ความขัดแย้ง โดยอาศัยพลังภายในหรือพลังแฝง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Ø วิสัยทัศน์
วิสันทัศน์ คือ ภาพแห่งอนาคตในอุดมคติที่จินตนาการไว้ เป็นเป้าหมายให้บรรลุ วิสัยทัศน์เป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ชัดเจน ไม่ใช้ความคิดลอย ๆ หรือความเพ้อฝัน วิสัยทัศน์ที่ดีเป็นจินตนาการที่ บรรจงวาดไว้ อย่างประณีตสวยงาม มีพลังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอยากให้เป็นจริง
วิสัยทัศน์ที่ดี และมีพลังเกิดจากความรู้ความเข้าใจในอดีตและปัจจุบัน เป็นฐานให้สามารถสร้างและฉายภาพอนาคตที่โดนใจผู้คน ตอบความใฝ่ฝัน ความต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า
Ø องคาพยพ
องคาพยพ ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ แบคทีเรีย ซึ่ง
สามารถเป็นอยู่ได้อย่างอิสระมีคุณลักษณะสำคัญ คือ เคลื่อนไหว กินอาหาร หายใจ เติบโต ขยายพันธุ์ และรู้สึกต่อการกระตุ้นได้
องคาพยพเป็นคำที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในทางสังคม เพื่อหมายถึงระบบซึ่งมีโครงสร้างและส่วนต่าง ๆ มีบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ คล้ายกับสิ่งมีชีวิต โดยส่วนต่าง ๆ ล้วนสัมพันธ์กัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ขึ้นต่อกัน หากแยกออกไปต่างหากก็จะสูญเสียพลัง มีการใช้คำนี้บ่อยเพื่อบอกถึงทัศนะที่เป็นองค์รวมต่อสังคม การมองมิติต่าง ๆ มองด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม อย่างสัมพันธ์กันมองประเด็นและงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ อย่างมีชีวิต อย่างสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม อย่างบูรณาการ
Ø อหิงสา
อหิงสา เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการปฏิเสธความรุนแรง การไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดี
มหาตมะ คานที ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของอหิงสา เพราะเป็นผู้ให้ความหมายคำว่าอหิงสา ด้วยคำสอนและด้วยการปฏิบัติตลอดชีวิต รวมทั้งขบวนการที่สืบทอดคำสอนของท่านในอินเดียและทั่วโลก
อหิงสาจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ปรารถนาทำร้ายหรือทำความเจ็บปวดให้คนอื่นซึ่งเป็นผู้มีจิตวิญญาณสากลเช่นเดียวกัน เราอาจจะเกลียดความอยุติธรรมที่ทำร้ายประชาชนแต่เราต้องเคารพทุกคนที่เกี่ยวข้องกับความอยุติธรรมนั้น ด้วยความเชื่อในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีแยกคนชั่ว จากความชั่วร้าย แยกความรุนแรงจากผู้กระทำความรุนแรงยับยั้งชั่งใจด้วยหลักธรรม ซึ่งจะได้มาด้วยการมีวินัย การควบคุมตนเอง และการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ จึงจะสามารถเอาชนะความชั่วด้วยความดี ความเกลียดด้วยความรัก ความโกรธด้วยความอดทน และความเท็จด้วยความจริง
Ø อัตลักษณ์
อัตลักษณ์ หมายถึง สำนึกว่าเราเป็นใคร และเราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร มีลักษณะเฉพาะอะไรบ้าง รวมทั้งคนอื่นมองว่าเราเป็นใคร ซึ่งนักวิชาการบางคนอธิบายว่าเป็นการสร้างขอบเขตของบุคคล เพื่อแสดงออกถึงอำนาจ หรือการได้มาซึ่งอำนาจ
Ø อาหารเสริม
อาหารเสริม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ ที่ขายกันตามท้องตลาด หรือ ตามสื่อต่าง ๆที่ใช้รับประทานเพื่อเสริมการรับประทานอาหารหลัก ไม่สามารถแทนการรับประทานอาหารปกติได้ ไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายในคนที่สุขภาพปกติ โดยอาหารเสริมอยู่ในรูปของเม็ด เกล็ด ผง แคปซูล ของเหลว หรือในลักษณะอื่น ๆ ที่ใช้รับประทานได้ โดยตรง เช่น น้ำมันตับปลา กระเทียมอัดเม็ด พรุนสกัด ซุปไก่สกัด
คนที่ร่างกายปกติ รับประทานอาหารครบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม ซึ่งมีราคาแพงถ้าหากเทียบกับอาหารสด สะอาดและมีคุณค่าที่เราหารับประทานได้ทุกวัน
Ø อำมาตยาธิปไตย
อำมาตยาธิปไตย เป็นคำใหม่ที่ใช้กันทางการเมืองไทยในปัจจุบัน (พ.ศ.2552) และมีการให้ความหมายที่ไม่ชัดแจ้งว่าผู้ที่ใช้ หมายถึงอะไรจริง ๆ เพราะดูเหมือนมาความหมายที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานในความหมายของคำว่า “อำมาตย์” หมายถึง ข้าราชการ ข้าเฝ้า ที่ปรึกษา ดังนั้นคำว่า “อำมาตยาธิปไตย”จากปรากฏการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน จึงอาจหมายถึง การปกครองโดยข้าราชการ ข้าเฝ้า ที่ปรึกษา ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยพระองค์เอง หรือโดยคำสอนของรัฐบาล หรือ องคมนตรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระองค์